วิถีสันทราย_210366_๒๓๐๓๒๒_10.jpg
467307606_1093941046065810_5749248854416792743_n.jpeg
467157978_1093939836065931_5049685251705682501_n.jpeg
467909597_1097797879013460_5998450529860398626_n.jpeg
470737000_1117552530371328_1941587988273440802_n.jpeg
470203191_1117552573704657_6870989934351038065_n.jpeg
470197765_1119015573558357_7679115319163152424_n.jpeg
470202889_1119015483558366_1838200277349342781_n.jpeg
PlayPause
previous arrow
next arrow

203 ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๓ วันคล้ายวันสวรรคต

วันคล้ายวันสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ต.ค. 2559 เวลา 15.52 น. ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมพรรษา 88 ปี 313 วัน ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี 4 เดือน 4 วัน โดยคณะรัฐมนตรีมีมติประกาศให้วันที่ 13 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตและวันหยุดราชการเพื่อให้ประชาชนน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ

การเสด็จสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2559 นำมาซึ่งความโศกเศร้าอาดูรเสียใจอาลัยรัก เทิดทูนของปวงประชาชนคนไทยทั่วประเทศและที่พำนักอาศัยในต่างแดน อย่างยากที่จะบรรยายความรู้สึกออกมาเป็นคำพูดหรือตัวหนังสือได้ หลายต่อหลายคนในช่วงเวลารู้ข่าวการเสด็จสวรรคตนั้นเมื่อถามไถ่พูดคุยพูดกันคำพูดออกแทบไม่เป็นประโยคกระอึกกระอักด้วยก้อนสะอื้นจุกอยู่ในลำคอด้วยความอาดูร มีแต่น้ำตาพร่างพรูไหลออกมาอาบสองแก้มนองหน้า อีกไม่น้อยเอาแต่กอดกันหลั่งน้ำตาร้องไห้สะอึกสะอื้นปานประหนึ่งจะขาดใจเสียให้ได้

กาลเวลาผ่านไปจากวันที่คนไทยสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศชาติคือผู้ที่คนทั้งแผ่นดินเคารพรักเทิดทูนเชิดชูบูชา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐในฐานะพ่อของแผ่นดิน วันนี้คนไทยทุกคนก็ยังคงน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านมิส่างซา ด้วยน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทุ่มเทพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจโดยมิได้ทรงรู้เหน็ดเหนื่อย มิทรงคำนึงถึงความสำราญส่วนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินไปทุกหนแห่งไม่ว่าจะต้องทรงปีนเขา บุกป่า ลุยน้ำ กรำแดดฝน ก็มิทรงย่อท้อยากลำบากแค่ไหนก็เสด็จฯไปเมื่อทรงทราบว่าราษฎรของพระองค์ทุกข์ยากลำบากขาดแคลนเดือดร้อนในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้เพื่อที่จะทรงสร้างประโยชน์สุขดับทุกข์เข็ญให้แก่ประชาชนที่ทรงตระหนักในพระราชหฤทัยว่าคือลูกๆของพระองค์นั่นเอง

10 พระราชกรณียกิจอันโดดเด่น

1. โครงการแกล้งดิน

10 พระราชกรณียกิจ
ภาพจาก dit.dru.ac.th

          แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว จะทำด้วยการขังน้ำไว้ในพื้นที่ จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาทางเคมีจนทำให้ดินเปรี้ยวจัด เมื่อถึงที่สุดแล้ว จะมีการระบายน้ำออกแล้วปรับสภาพดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งสามารถใช้ดินในการเพาะปลูกได้

2. โครงการปลูกหญ้าแฝก

          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงศึกษาเรื่องการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำจากเอกสารของธนาคารโลก ที่ Mr.Richard Grimshaw ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย และพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝก โดยให้ทรงทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน จนปัจจุบันมีหน่วยงานกว่า 50 หน่วยงาน ดำเนินงานสนองพระราชดำริการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ส่งผลให้การดำเนินงานก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ

3. โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน


ภาพจาก kanchanapisek

          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานโครงการแพทย์หลวงพระราชทาน เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยที่มีการจัดเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อตรวจรักษาราษฎรในถิ่นทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า และอบรมหมอหมู่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน

4. โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

10 พระราชกรณียกิจ
ภาพจาก kanchanapisek

          โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ได้จัดทำขึ้นตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยจัดขึ้นเป็นรูปเล่ม และบางส่วนได้เผยแพร่ออนไลน์ ซึ่งรวบรวมเนื้อหาจากหลายสาขาวิชา โดยที่ฉบับปกติมีทั้งหมด 37 เล่ม และฉบับเสริมการเรียนรู้มีทั้งหมด 20 เล่ม

5. ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล


ภาพจาก kanchanapisek

          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล ในปี พ.ศ. 2502 เพื่อให้นิสิต นักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่น ได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้ชั้นสูงในต่างประเทศ และนำองค์ความรู้ที่ได้มาช่วยพัฒนาประเทศต่อไป

6. แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : เกษตรทฤษฎีใหม่

10 พระราชกรณียกิจ

          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นต้น โดยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นต้น คือ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตรา 30-30-30-10 เพื่อขุดเป็นสระกักเก็บน้ำ 30% ปลูกข้าวในฤดูฝน 30% ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร 30% และเป็นที่อยู่อาศัยอีก 10%

          จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง คือการให้เกษตรกรรวมกันในรูปแบบของกลุ่ม สหกรณ์ เพื่อดำเนินการในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม คือการติดต่อประสานงาน จัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อใช้ลงทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป

7. บทพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก

ภาพจาก larnbuddhism.com


          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานบทพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก ซึ่งมีการดัดแปลงเล็กน้อยจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ 4 ภาคที่ 2 เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย และพระองค์ทรงแปลเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2531 จากนั้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพิมพ์ในปีกาญจนาภิเษก ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งมีเนื้อหาอันทรงคุณค่าและมีการพิมพ์เป็นฉบับการ์ตูนอีกด้วย

8. โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

10 พระราชกรณียกิจ
ภาพจาก ku.ac.th

          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโครงการอันหลากหลายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร และโครงการกึ่งธุรกิจ อาทิ โรงโคนมสวนจิตรลดา, โรงนมผงสวนดุสิต, น้ำผึ้งสวนจิตรลดา เป็นต้น

9. โครงการฝนหลวง


ภาพจาก dit.dru.ac.th

          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริส่วนพระองค์ในเรื่องการจัดทำฝนหลวง เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตร โดยมีการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนหลวงขึ้น ซึ่งจะใช้สารเคมีโปรยในท้องฟ้า จนกระทั่งไอน้ำอิ่มตัวและกลั่นตัวออกมากลายเป็นเม็ดฝน

10. กังหันน้ำชัยพัฒนา

10 พระราชกรณียกิจ
ภาพจาก chaipat.or.th
          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำชัยพัฒนาขึ้น เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี และสามารถประยุกต์ใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และเพิ่มออกซิเจนให้บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร
 
- เนื้อหาจาก www.kapook.com -